การเปลี่ยนจากขายปลีกออนไลน์มาเป็นออฟไลน์

Table of Contents

เจ้าของธุรกิจขนาดเล็กส่วนใหญ่มีน้อยมากที่ไม่กลัวหรือกังวลเมื่อต้องสร้างหน้าร้านของตัวเอง แต่ในขณะเดียวกัน การมีหน้าร้านอาจจะเป็นเรื่องเล็กไปเลย สำหรับผู้ค้าปลีกรายใหญ่อย่าง Amazon มันเป็นความจริงที่ว่าการลงทุนสร้างหน้าร้านเป็นค่าใช้จ่ายที่ต้องมีอยู่ทั่วๆ ไปในด้านการทำธุรกิจ

คำถามเกิดขึ้นเมื่อบริษัทอีคอมเมิร์ซชั้นนำได้มีการขยายธุรกิจค้าปลีก ให้มีหน้าร้านที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ ทำไมพวกเขาถึงทำแบบนั้น? Miriam Sontz ซีอีโอของ Powell’s Books กล่าวไว้ว่า ลูกค้าจะมีความสุขและเพลิดเพลินกับการซื้อหนังสือบางประเภทที่ร้าน มากกว่าการซื้อผ่านช่องทางออนไลน์

นอกจากนี้ยังมีประโยชน์บางอย่างเกี่ยวกับการตั้งร้านขายปลีกที่ไม่มีการอธิบายไว้อย่างดีนักบนอินเทอร์เน็ต คือ การมีหน้าเว็บหรือขายออนไลน์มันมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว แบรนด์ต่างๆ ที่อยู่บนเว็บจะไม่มีความโดดเด่นด้วยตัวเอง ทำให้ผลิตภัณฑ์ต่างๆ ไม่สามารถดึงดูดลูกค้าได้ เข้าไม่ถึงลูกค้าได้จริง อาจส่งผลให้พวกเขาเปลี่ยนใจไม่ซื้อสินค้าบนเว็บเป็นจำนวนมาก สำหรับเจ้าของธุรกิจแล้ว การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยมีหน้าร้านจะช่วยให้ผู้คนได้รู้จักและเข้าใจผลิตภัณฑ์จต่างๆ ได้ เมื่อเทียบกับการค้นดูเว็บไซต์อะไรก็ไม่รู้ ไม่มีลักษณะเด่นใดๆ อยู่เลย

แม้ว่าการเก็บรวบรวมข้อมูลสามารดึงดูดความสนใจของลูกค้าได้ นำไปฏิบัติได้จริง แต่การตั้งร้านค้าปลีกก็ไม่ใช่การตัดสินใจที่เหมาะกับธุรกิจออนไลน์ทุกประเภท

ขณะที่ไม่มีใครเข้าใจเป้าหมายของคุณได้ดีเท่าตัวคุณเอง ดังนั้นก่อนที่จะขยายธุรกิจไปสู่หน้าร้านได้คุณควรคำนึงถึงข้อต่างๆ เหล่านี้

1. ทำเลที่ตั้ง

กุญแจแห่งความสำเร็จในการลงทุนนั่นคือ “ทำเล เทล และทำเล” วลีที่เป็นที่นิยมและใช้ได้จริงไม่ว่าจะผ่านไปกี่ทศวรรษก็ตาม การมีย่านใจกลางเมืองและกลุ่มประชากรที่เจาะจงอาจจะเหมาะกับรูปแบบธุรกิจของคุณมากขึ้นก็ได้ เพราะการมีกลุ่มและสถานที่ที่แน่นอนจะช่วยให้เราได้ข้อมูลลูกค้าที่ตรงจุด และรู้ว่าควรตั้งร้านขายปลีกที่ตำแหน่งไหน เพื่อกลุ่มคนใดบ้่าง

2. อุปสงค์และอุปทาน [restrict]

คุณแน่ใจหรือไม่ว่าการเปลี่ยนมาเปิดหน้าร้านขายปลีก จะเป็นผลดีต่อบริษัทในระยะยาว? การทำความเข้าใจแรงจูงใจของลูกค้า ช่วยบอกได้ว่าคุณควรเปลี่ยนมาตั้งหน้าร้านขายปลีกหรือไม่ แต่ต้องนึกไว้เสมอว่ามันต้องใช้ทั้งเงินและเวลาอย่างมาก เดี๋ยวจะกลับมาพูดเรื่องนี้ในตอนหลัง แต่ตอนนี้ต้องนึกให้ออกก่อนว่า แรงจูงใจของคุณคืออะไร? ควรพิจารณาให้สัมพันธ์กับเป้าหมายสูงสุดของบริษัทก่อนจะลงมือเปิดหน้าร้านนั้นๆ และเหตุผลที่สำคัญที่สุดที่จะเปลี่ยนจากการทำอีคอมเมิร์ซ ไปสู่ร้านค้าปลีก ต้องเป็นสินค้าและบริการที่เป็นที่ต้องการของลูกค้าอยู่เสมอ Heather Craig เน้นว่า บริษัท thredUP เปลี่ยนจากออนไลน์มาค้าปลีกออฟไลน์ได้ เพราะมีลูกค้าของพวกเขาเองเรียกร้องให้ตั้งหน้าร้านให้ที Craig เห็นว่าความต้องการที่ลูกค้าเสนอมา ทำให้บริษัทนี้มีความมั่นใจว่าพวกเขาเปิดร้านขายปลีกแล้วรอดแน่นอน

3. เรื่องของระยะเวลาและการเงิน

ถึงแม้ว่าคุณได้กำหนดแผนธุรกิจเชิงกยุทธ์ไว้เรียบร้อย แต่งบประมาณที่วางไว้อย่างเคร่งครัดช่วยให้ตัดสินใจได้ว่า การเปิดร้านขายปลีกเป็นทางเลือกที่ควรแล้วจริงๆ

พิจารณาการลงทุนเริ่มแรก :

บุคลากร
เงินวางเริ่มแรก (Down Payment)
รายการสินค้าและคลังสินค้า

จากนั้นพิจารณาค่าใช้จ่ายที่จะตามมา :
เวลาทำการ
สาธารณูปโภค
ภาษี
ค่าเช่ารายเดือน

เมื่อพิจารณาถึงค่าใช้จ่ายเหล่านี้ ก็ต้องนึกถึงผลกำไรที่จะตามมาว่าควรอยู่ในจุดไหน ถ้าบอกว่าเป้าหมายของคุณคือการคืนทุนภายใน 1 ปี ก็ต้องคูณค่าใช้จ่ายที่ตามมาทั้งหมดภายใน 12 เดือน และค่อยวางแผนงบประมาณให้เหมาะสม ถ้าจะให้ปลอดภัย ควรจะบวกเข้าไปอีก 20% จากงบประมาณที่ตั้งไว้ เพื่อใช้แก้ไขสถานการณ์ไม่คาดคิดต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้

4. จากออนไลน์ไปเป็นออฟไลน์

ร้านค้าออนไลน์สามารถทราบสถานะของสินค้าคงคลังได้ แต่เมื่อเปลี่ยนมาเปิดร้านขายปลีก คุณจะต้องคิดทบทวนแผนการจัดการใหม่ จะต้องมานั่งวิเคราะห์ว่าผลิตภัณฑ์ไหนที่คลังสินค้าต้องมีเก็บไว้บ้าง ซึ่งผู้ซื้อเองก็มีแนวโน้มที่จะเช็คคลังสินค้าของคุณก่อนจะมาทำการซื้อที่ร้าน ดังนั้นหากสินค้าบางอย่างไม่มีอยู่ในคลัง คุณต้องทำให้แน่ใจว่าคุณจะต้องมีสินค้าอยู่เสมอเมื่อลูกค้าต้องการมัน แรกๆ ที่เปิดร้านขายปลีก คุณอาจจะประมาณการของในคลังมากเกินหรือน้อยไปบ้าง ดังนั้นควรตรวจคลังสินค้าให้เรียบร้อยอยู่เสมอ

5. จุดขายของผลิตภัณ์ (Unique Selling Proposition)

เรื่องง่ายๆ ที่ต้องทำคือ คุณต้องการสินค้าที่มีความพิเศษและผูกขาด ที่แตกต่างจากร้านออนไลน์กับร้านค้าปลีกของคุณ การเพิ่มผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ จะช่วยสร้างจุดเด่นของร้านคุณได้ ความรู้สึกพิเศษที่มาพร้อมกับสินค้าที่หาซื้อได้จากที่นี่เพียงที่เดียวจะช่วยให้ลูกค้าออนไลน์ของคุณ เริ่มมาจับจ่ายซื้อของที่หน้าร้านได้

ร้าน Otter เป็นเคสตัวอย่างที่ดีมากๆ คือ เมื่อร้านเปิดใหม่ ร้าน Otter ได้วางผลิตภัณ์ที่มีความพิเศษตอบสนองต่อความต้องการของกลุ่มลูกค้าในทำเลนั้นได้เป็นอย่างดี ประกอบกับการตกแต่งภายในร้านที่ทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าได้รับประสบการณ์ที่พิเศษที่หาจากร้านไหนไม่ได้

สิ่งที่อยากฝากไว้ให้คิด : การจัดให้มีสิทธิพิเศษสำหรับลูกค้าเวลามาซื้อของหน้าร้าน จะช่วยทำให้ร้านค้าของเราดูมีเอกลักษณ์มากขึ้น

[/restrict]

The FMCG Marketer's Guide to First-party Data Collection

Share this article:

Other articles