3 เทคนิค ร้านค้าปลีกสู้อีคอมเมิร์ซ

แนวโน้มการเติบโตขึ้นของร้านค้าปลีก ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปตลาดแห่งยุคดิจิทัล ซึ่งทำให้ผู้ค้าปลีกทั้งหลายเกิดความสงสัยเกี่ยวกับอนาคตของธุรกิจออนไลน์มากขึ้น

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าโลกกำลังขับเคลื่อนไปสู่ระบบดิจิทัล ในโลกของการค้าปลีกยังคงมีอีกหลายเหตุผลที่เชื่อว่าธุรกิจของพวกเขาจะไม่เจ๊ง หรือหายไปเพียงเพราะการก้าวไปสู่ยุคดิจิทัล

เพื่อรักษาความสามรถในการแข่งขัน กลยุทธ์ที่น่าสนใจที่ร้านค้าปลีกนิยมนำมาใช้คือ การเข้าซื้อร้านค้าปลีกออนไลน์ขนาดเล็ก ที่มีศักยภาพใยนการแข่งขันต่ำ

หลายคนเชื่อในการรวมร้านค้าออนไลน์และออฟไลน์เข้าด้วยกัน เพราะร้านค้าปลีกที่เสนอทางเลือกให้ลูกค้าสามารถซื้อของออนไลน์ได้ และสามารถรับสินค้าแบบออฟไลน์ได้ จะช่วยเพิ่มโอกาสการขายและบริการอื่นๆ และได้รับประโยชน์จากการขายมากขึ้น

ตัวอย่างเช่น บริษัท Telco ที่อำนวยความสะดวกให้ลูกค้าสามารถซื้อโทรศัพท์ทางออนไลน์ได้ และไปรับสินค้าจากร้านใกล้บ้าน นอกจากนี้เมื่อลูกค้าเข้าไปในร้าน พนักงานขายสามารถเสนอ แนะนำ สินค้าอื่นๆ เพิ่มเติมได้อีก อย่างเช่น แพ็กเกจค่าโทรศัพท์ ประกัน หรือ เคสใส่โทรศัพท์ต่างๆ ทำให้ลุกค้าได้รับประสบการณ์การซื้อที่เพิ่มขึ้น

ร้านค้าปลีกส่วนใหญ่มักจะคิดไปเองว่าการรวมกันของร้านค้าปลีกออนไลน์และออฟไลน์ เป็นกุญแจสำคัญในการคงไว้ซึ่งธุรกิจให้เติบโตได้ในยุคดิจิทัล อย่างไรก็ตาม มันอาจไม่เป็นเช่นนั้น

ความจริงแล้วมี 3 วิธีที่ร้านค้าปลีกสู้กับอีคอมเมิร์ซได้

1. เรียกลูกค้าเข้าร้านให้ได้มากที่สุด

ปัจจัยแรกที่ทำให้ร้านค้าปลีกจะสู้ร้านออนไลน์ได้ คือ จำนวนคนที่เข้าร้าน ร้านค้าปลีกมีข้อได้เปรียบเวลาโปรโมชันต่างๆ ในรูปแบบโปสเตอร์ โฆษณา หรือแบนเนอร์ที่สะดุดตา ซึ่งดึงดูดความสนใจของลูกค้าได้ทันที

วิธีการโปรโมทด้วยป้ายโฆษณาหรือแบนเนอร์ เป็นกลยุทธ์ที่ช่วยให้ผลิตภัณฑ์ในร้านค้าสามารถมองเห็นได้จากที่ใดก็ตาม และไม่จำเป็นต้องเข้าถึงแบบออนไลน์ เป้าหมายระหว่างการดึงดูดทางสายตา และการซื้อสินค้าภายในร้านมีมากขึ้น ช่วยเพิ่มโอกาสให้เกิดรายได้ของร้านค้าปลีกได้มากขึ้น

 

2. การมีปฏิสัมพันธ์โดยตรงกับลูกค้า [restrict]

ถ้าเทียบกับการซื้อของในร้านออนไลน์ ลูกค้าบริการตัวเอง ตั้งแต่การเข้าไปดูหมวดสินค้าต่างๆ การค้นหาข้อมูลสินค้า ไปจนถึงการจ่ายเงินทำธุรกรรมด้วยตัวเองทั้งหมด แต่ร้านค้าปลีกได้ประโยชน์จากการให้ความช่วยเหลือลูกค้า ตลอดจนการซื้อของต่างๆ

ในฐานะลูกค้า การมีผู้ช่วยในการให้คำแนะนำเวลาซื้อของ ช่วยบอกความต้องการของลูกค้าได้เจาะจงขึ้น และการมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีระหว่างพนักงานขายกับลูกค้า ช่วยให้ลูกค้าได้รับประสบการณ์การซื้อที่ดี มีการโต้ตอบ ได้ของที่ตรงตามความต้องการ

ข้อดีในระยะยาวคือ ลูกค้าติดใจและซื่อสัตย์ต่อแบรนด์ ทำให้กลับมาซื้ออีกเรื่อยๆ

3. การได้เห็นสินค้า ก่อนการตัดสินใจซื้อ

การซื้อของในร้านค้าปลีก ทำให้ลูกค้าได้เห็นและทดลองสินค้าตัวจริงก่อนการตัดสินใจซื้อได้

ส่วนปัญหาของร้านค้าออนไลน์คือ ลูกค้ากลัวว่าสินค้าที่สั่งกับสินค้าที่ได้จะไม่ตรงกัน

ร้านค้าออนไลน์มักจะตั้งค่าของผลิตภัณฑ์ได้ไม่ละเอียดนัก เช่น ขนาดและสี ทำให้เมื่อลูกค้าได้รับสินค้า คิดว่าสินค้าไม่ตรงกับที่สั่ง

ส่วนข้อได้เปรัยบของร้านค้าปลีกคือ ลูกค้าสามารถทดลองใช้สินค้านั้นๆ ได้ เลย ได้เห็นและรู้สึกถึงผลิตภัณฑ์นั้นๆ อย่างแท้จริง

แม้ว่าร้านค้าปลีกจะมีข้อดีมากมายในเรื่องของการเห็นสินค้าก่อน แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าร้านค้าออนไลน์ได้เปรียบในเรื่องของการเดินทาง เวลา และค่าใช้จ่าย ลูกค้าสามารถเปรียบเทียบสินค้าแต่ละร้านได้อย่างรวดเร็ว เพราะเปิดบริการตลอดทั้งกลางวันกลางคืน และไม่ต้องมารอต่อแถวให้นาน

ข้อด้อยของร้านค้าปลีกออนไลน์

สิ่งสำคัญคือต้องทราบว่า ร้านค้าปลีกออนไลน์มีความเสี่ยงต่อปัญหาทางเทคนิคและความขาดแคลนของโลกดิจิทัล

การบำรุงรักษาแพลตฟอร์มออนไลน์ต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมาก แผนการดำเนินการทางออนไลน์ต่างๆ ที่เสนอโดยเจ้าของเว็บ หรือบล็อก ส่วนใหญ่มีราคาแพง ตัวอย่างเช่นแผนธุรกิจที่เสนอโดย WordPress คือ 300 เหรียญสหรัฐต่อปี ซึ่งแปลว่าคุณต้องจ่ายเป้นจำนวนเงินทั้งสิ้น 9548.50 บาทต่อปี

นอกจากนี้ การจัดการโครงสรา้งพื้นฐาน หน้าต่างเว็บไซต์ การทำการตลาด การบริการ รวมไปถึงการเขียนคอนเทนต์เพื่อขายของ ต้องอาศัยการเรียนรู้ด้วยตนเอง ทั้งเรื่องซอฟแวร์และเครื่องมือทางออนไลน์ต่างๆ ซึ่งอาจจะเป็นที่น่ากังวลสำหรับเจ้าของร้านค้าปลีกที่ไม่เข้าใจในเทคโนโลยี

ร้านค้าออนไลน์ยังไม่ปัญหาด้าน คนแปลกหน้ามาคุกคามด้านความปลอดภัยหรือการหลอกลวง อย่าง ไวรัสและการแฮ็ก

แต่มีปัญหาทางเทคนิค เช่น การหยุดทำงานของเซิร์ฟเวอร์ เกิดความล้มเหลวของระบบ หรือการไม่สามารถให้บริการได้ชั่วคราว ส่งผลต่อลูกค้าที่เข้าเว็บไซต์ ส่งผลเสียต่อยอดขาย และความสามารถในการควบคุมกิจการของผู้ค้าปลีกออนไลน์

สิ่งที่อยากจะฝากไว้ :

สำหรับร้านค้าปลีกที่ต้องการแข่งขันกับระบบดิจิทัล สิ่งที่ต้องทำคือปรับตัวและเปลี่ยนไปไปพร้อมๆ กับสิ่งใหม่ตลอดเวลา และเพื่อให้ได้แนวทางใหม่ๆ ในการดำเนินธุรกิจ ค้นหาช่องทางในการพัฒนา การบริการที่มีประสิทธิภาพ และขีดความสามารถที่จำกัด สุดท้ายนี้ การปรับตัวคือสิ่งสำคัญที่สุดในยุคดิจิทัล ใครปรับตัวก่อน ดีไป

[/restrict]

Leave a comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *